ผมบาง

ผมบาง กลับมาหนาได้ไหม รวม 5 เทคนิคแก้ผมบาง แก้ได้ด้วยตัวเอง

คุณกำลังประสบปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน อยู่หรือเปล่า และปัญหาที่เกิดขึ้น เหล่านี้เป็นแบบชั่วคราวหรือเรื้อรัง อายุและเพศมีโอกาสเกิดขึ้นเท่ากันหรือเปล่า ปัญหาเรื่องเส้นผมมักจะทำให้เราเกิดความวิตกกังวล และขาดความมั่นใจ เนื่องจากเส้นผมเปรียบเสมือนสิ่งที่ช่วยทำให้บุคลิกของคุณให้ดูดีขึ้น เมื่อมีปัญหาเหล่านี้ ทุกคนจึงหาทางแก้ไข และตัวช่วยต่าง ๆ เพื่อลด ชะลอ หรือยับยั้งการร่วงของเส้นผม และหาวิธี เทคนิคต่าง ๆ ดูแลเส้นผม

เลือกอ่านหัวข้อในบทความ

ผมร่วง ผมบาง เกิดจาก อะไร ?

ผมบาง

แพทย์จะแบ่งภาวะผมร่วง ในทางการแพทย์ ออกเป็น ผมร่วงที่ไม่เกิดแผล (non-scarring alopecia) และผลร่วงที่เกิดแผลเป็น (scarring alopecia) และสามารถแบ่งปัจจัยหลัก ของการเกิดภาวะผมร่วง ผมบางได้ออกเป็น 2 ปัจจัยที่กระตุ้นให้ผมร่วงผิดปกติ ได้แก่ ปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน ดังต่อไปนี้

ปัจจัยภายนอกที่ทำให้ผมร่วง ผมบาง

  • การใช้ยาบางจำพวก เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาสิวที่มีส่วนผสมของวิตามินเอ ยาเคมีบำบัด ยากดภูมิคุ้มกัน ยารักษาโรคข้อเสื่อมข้ออักเสบ ยาลดความเครียดบางชนิด  ยากันชัก ยาลดความดันบางชนิด   ยาคุมกำเนิด ยาละลายลิ่มเลือด
  • หนังศีรษะอับ ชื้น เช็ดไม่แห้ง จนเกิดเชื้อรา บนหนังศีรษะ
  • การได้รับสารเคมี จากการทำผม ย้อมผม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเส้นผม และหนัวศีรษะ
  • การเกา การดึง หรือการกระทำที่ทำให้ หนังศีรษะเกิดแผล
  • การถักเปีย การมัดผม เป็นเป็นเวลานาน เนื่องจากเส้นผมถูกดึงเป็นเวลานาน ทำให้ผมขาดหลุดร่วงได้ง่าย
  • การเข้าการรักษา การฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
  • เส้นผมที่โดนความร้อนสูง เป็นระยะเวลานาน หรือบ่อยครั้ง ทำให้เส้นผมแห้ง และขาดหลุดร่วงง่าย

ปัจจัยภายในที่ทำให้ผมร่วง ผมบาง

  • ผมร่วงที่เกิดจากกรรมพันธุ์และฮอร์โมน (Androgenetic alopecia, AGA) ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สามารถเกิดได้จากการถ่ายทอดยีนเด่นบนโครโมโซม และการถ่ายทอดหลายปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  (multifactorial inheritance) ทำให้หนังศีรษะมีความไวต่องฮอร์โมน ที่มีชื่อว่า dihydrotestosterone ( DHT ) ทำให้เส้นผมของเรานั้น รีบ เส้นเล็ก และร่วงไปในที่สุด และนี่เองทำให้เส้นผมของเรามีอายุสั้นกว่าปกติ มักจะพบได้ในวัยตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อายุน้อยก็สามารถเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน คุณหมอมีวิธีสังเกต คือ ผมบริเวณต่าง ๆ เช่น ด้านหน้า กลางหัว มีผมที่บางลง และครอบครัวของคุณมีสภาวะผมร่วง ผมบาง เนื่องจากพันธุกรรม
  • สภาวะผมร่วงเป็นหย่อม ๆ  (Alopecia areata, AA) เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ทำให้เซลล์รอบรากผมอักเสบ จนไม่สามารถผลิตเส้นผมขึ้นมาใหม่ได้
  • ปัจจัยความเครียดและการเจ็บป่วยที่รุนแรง ความเครียดถือเป็นสาเหตถสำคัญของอาการผมร่วง ความเครียดสะสมติดต่อกันเป็นเวลานาน และอาการเจ็บป่วยรุนแรง เช่น หลังคลอด ไข้เลือดออก 
  • การดึงผมของตัวเอง ที่เกิดจากปัญหาทางจิตใจ (Trichotillomania)
  • ปัจจัยทางร่างกาย ที่เกิดขึ้นจาก แพ้ภูมิตนเอง SLE/DLE (Systemic Lupus Erythematosus, Discoid Lupus Erythematosus)
  • ไทรอยด์ฮอร์โมน เกิดความผิดปกติ
  • การขาดรับประทานอาหาร ไม่ครบหรือไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อเส้นผม เช่น วิตามิน โปรตีน และอื่น ๆ
  • พันธุกรรม ทำให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิด ของเส้นผม
  • โรคติดต่อบางชนิด เช่น ซิฟิลิส

ลักษณะผมร่วง ผมบาง

ลักษณะผมร่วง ผมบาง ในผู้หญิง

ผมบาง

ผู้หญิงที่มีแนวโน้ม ศีรษะล้านจะสังเกตุได้ เริ่มจากมีอาการผมขาด หลุดร่วงเยอะผิดปกติ ส่วนใหญ่จะเริ่มจากบริเวณกลางศีรษะ สามารถแบ่ง การสังเกตุออกเป็น 3 แบบ คือ

  1. บริเวณที่ผมบางที่สังเกตุได้ง่ายที่สุดคือ แนวแสกกลางของแนวผม จะสังเกตุได้ว่า แนวผมนั้นกว้างขึ้น และมีผมที่บางลง
  2. สามารถเห็นหนังศีรษะได้ชัดเจนขึ้น นั้นหมายความว่า ผมของท่านได้เริ่มบาง ในบริเวณนั้น
  3. เส้นผมบางมากจนเห็นหนังศีรษะชัดเจน

ลักษณะผมร่วง ผมบาง ในผู้ชาย

ผมบาง

ลักษณะและวิธีการสังเกตุ ผู้ชายที่มีสภาวะผมร่วง ผมบาง สามารถแบ่งลักษณะศีรษะล้านได้ 7 ประเภท คือ

1. ทุ่งหมาหลง จะมีผมเฉพาะด้านข้างและตีนผมด้านหลังเท่านั้น นอกนั้นจะล้านเกือบทั้งหมด และเป็นมันเลื่อม ถ้ามองจากด้านบนจะมองไม่เห็นเส้นผมเลย

2.ดงช้างข้าม จะล้านเป็นทางจากหน้าผากไปถึงบริเวณเกือบท้ายทอย มีผมรอบศีรษะด้านช้างอยู่ ถ้ามองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปตัว U หัวกลับ

3.ง่ามเทโพ ล้านเข้าไปทั้งสองข้างบริเวณหน้าผากเถิกเข้าไปเหมือนง่าม แต่ยังคงมีผมตรงกลางและด้านหลังอยู่

4.ชะโดตีแปลง ศีรษะล้านกลางกระหม่อม หากมองจากด้านบนจะเห็นเส้นผมเป็นวงกลม และตรงกลางล้าน

5.แร้งกระพือปีก ศีรษะล้านเข้าไปทั้งสองข้างบริเวณหน้าผาก คล้ายๆง่ามเทโพ แต่เถิกลึกเข้าไปจนโอบรอบกระหม่อมและบรรจบกัน เหลือเส้นผมเป็นกระจุกอยู่ตรงกลางและบริเวณท้ายทอย

เผยเคล็ดลับ ! 5 วิธีแก้ ผมร่วง ผมบาง ฟื้นฟูผมหนาด้วยวิธีธรรมชาติ

  1. รับประทานอาหารที่มีสารอาหารบำรุงเส้นผม อาหารที่มี วิตามิน บี7 ไมโอติน เหล็ก โปรตีนเป็นต้น จะมีอยู่ในเนื้อสัตว์และผัก หรือเป็นวิตามินอาหารเสริมก็ได้เช่นกัน
  2. หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผม และสารเคมี เช่น การย้อม การกลัดผมทำสี
  3. หมั่นออกกำลังกาย และหากิจกรรมทำเพื่อลดความเครียด
  4. ขณะอาบน้ำ หรือสระผม ทำการนวดที่ตีนผมเบา ๆ เป็นประจำ การนวดจะช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนได้ดี และจะช่วยให้เส้นผมงอกได้เร็วขึ้น
  5. ไม่ควรทำกิจกรรมที่รุนแรงต่อเส้นผมขณะผมผเปียก เช่น การเช็ดผมโดยการขยี้แรง ๆ  หวีผมขณะที่ผมเปียก
 
ที่สำคัญสำหรับการ ฟื้นฟูสภาพผมก็คือการดูแลเอาใจใส่เส้นผมของคุณ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดูแลร่ายการตัวเองอยู่เสมอ หากมีเวลาสักนิด ใช้วิธีการนวดที่หนังศีรษะบริเวณที่มีผมบาง ก็จะช่วยกระตุ้นให้ผมงอกได้ หรือมีทางเลือกนั้นก็คือการรับประทานยา แลอาหารเสริม ที่จะช่วยให้ผมของคุณ เเข็งแรง เส้นใหญ่ หนาขึ้น แต่ทั้งนี้ต่อให้คุณรับประทานยา อาหารเสริม และอาหารครบ แต่ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง ผมของท่านก็อาจจะอยู่กับท่านไม่นาน ฉนั้นควรทำควบคู่กับไปครับ หากท่านใดมีปัญหาเรื่องเส้นผม หรือสนใจอยาก ปลูกผม จองคิวปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย